วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)

ระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN
การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้ โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode)

ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิม ในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
2.3 Multiple access points and roaming

โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
2.4 Use of an Extension Point

กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบ อาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.5 The Use of Directional Antennas

ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่าง อาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน
ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN
ภายในอาคาร
1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
ภายนอกอาคาร
1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสาย อากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสาร กันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้ว ถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router
ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอิน เทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server
อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter
ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับ ตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna)
ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศ ยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก








วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

BLOGGER!!!

www.mememejung.blogspot.com



www.tiruk15.blogspot.com


www.Jukduy.blogspot.com


www.nittaya13.blogspot.com


www.nutsba.blogspot.com


www.Patama13.blogspot.com


www.newyear7134.blogspot.com


www.Dajung2010.blogspot.com


www.poopae555.blogspot.com


www.Zoo-Ruk.blogspot.com


www.praputson2.blogspot.com


www.Namtho999.blogspot.com


www.Santan9899.blogspot.com


www.Swlkksanpui.blogspot.com


www.apisit-loveyou.blogspot.com


www.Koonstitchclub.blogspot.com


www.Thaicok.blogspot.com


www.Tangtonnalove.blogspot.com


www.Pimpakk486.blogspot.com


www.petchai222.blogspot.com


www.kimhyonjung.blogspot.com


www.surut16.blogspot.com


www.forgetmenot_fernway.blogspot.com


www.sorry-lin.blogspot.com


www.Mintra-abnormal.blogspot.com


www.DowandMok.blogspot.com


www.Cheesekra.blogspot.com


www.AE andtama.blogspot.com


www.pigred14.blogspot.com


www.piew88blogspot.com


www.tukinpo.blogspot.com


www.Toulex5.blogspot.com


www.loypila.blogspot.com


www.kapook16.blogspot.com


www.Mayrrhung.blogspot.com


www.Bigbody11.blogspot.com


หมากคร่ำศรี


ผู้คนในสยามประเทศนับล่วงเวลา 30-40 ปีขึ้นไป นิยมกินหมาก โดย การนำหมากเคี้ยวกับพลูและปูนแดง ผู้เฒ่าผู้แก่ไปไหนมาไหนจึงมักจะ กระเตงเชี่ยนหมากติดตัวไปด้วย หรือหากอายุมากแล้วก็จะเป็นภาระของบุตร หลานที่ต้องถือไปให้ท่าน ในเชี่ยนหมากจะพบลูกหมาก พลู ปูนแดง มีดหั่น หมาก ตะบันหมาก ผ้าเช็ดปาก และกระป๋องนมข้นเปล่า (ปัจจุบันพบว่าใช้ถุง พลาสติก) สำหรับบ้วนน้ำหมาก ผู้กินหมากปากจะแดงไปด้วยสีของน้ำหมาก และฟันจะมีสีน้ำตาลแดงจนสีดำเข้ม อันเนื่องมาจากคราบของแทนนิน แต่ ปัจจุบันจะพบเห็นผู้ที่กินหมากน้อยลง หมากจึงเป็นสัญลักษณ์ของความ คร่ำครึโบราณ แต่แท้จริงแล้วหมากยังคงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก ในด้านการรักษาโรคของมนุษย์และสัตว์



หมากเป็นพืชในวงศ์ Palmae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Areca catechu Linn. ชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า Areca palm หรือ betel nut palm สำหรับชื่อท้องถิ่น ได้แก่ เค็ด พลา สะลา เซียด (จังหวัดนครราชสีมา) แซ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ปีแน ปีนัง (มาเลเซีย) มะ (ตราด) สีซะ (กะเหรี่ยง พายัพ) หมาก หมากเมีย (ชื่อทั่วไปไทยภาคกลาง) หมากมู้ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) โดยหมากมีถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชียเขตร้อน

หมากมีลำต้นโต ลำต้นโดยธรรมชาติจะตั้งตรงสูงชะลูดเป็นปล้อง ไม่มี กิ่งก้านตามลำต้น แตกกิ่งก้านใบอยู่ที่ยอดของลำต้น ใบเล็กยาวมาก ดอกออก เป็นช่อ ลูกออกเป็นพวงเรียกว่า ทะลายหมาก ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง เนื้อหมากที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง มีลักษณะคล้าย อีแปะ เรียก หมากอีแปะ ส่วนผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนานๆ เรียก หมากยับ หมากดิบมีสีเขียวจัดเมื่อแก่จัดจะมีสีแสด เมล็ดหมากมีลักษณะ เกือบกลม เมื่อผ่าตามขวาง จะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน


องค์ประกอบสำคัญทางเคมีที่พบในหมาก ได้แก่ แอลคาลอยด์ เช่น arecoline, arecolidine, arecoidine และ guvacine ส่วนสารฝาด ได้แก่ แทนนิน (tannin)


ส่วนที่ใช้ประโยชน์และสรรพคุณ


เมล็ดหมาก


-ใช้ฟอกหนัง เนื่องจากมีปริมาณแทนนินสูงและใช้เป็นส่วนผสมของ การย้อมผ้าสีกากี แหและอวนที่ทำจากด้าย


- หมากสง ใช้เป็นยาขับเหงื่อ ทำให้ม่านตาหรี่


- กินกับพลูและปูนแดง ทำให้เหงือกแข็งแรง

- หมากมีแอลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาท


- ฝานเนื้อหมากดิบ ทารักษาแผลน้ำกัดตามง่ามมือ เท้า


- รับประทานแก้ท้องร่วง อาเจียน


- ฝนทาปาก เป็นยาสมานแผล ปากเปื่อย

- ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิในมนุษย์


- สำหรับสัตว์มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย เบื่อพยาธิตัวกลมและตัวแบน


รากหมาก


- ต้มอมแก้ปากเปื่อย ร้อนใน กระหายน้ำ แก้บิด ขับปัสสาวะ

ใบหมาก


- ต้มอาบแก้คัน ผสมกับยารับประทาน ใช้ลดไข้


จึงเห็นได้ว่าหมากซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในอดีต แต่ในปัจจุบันเกษตรกร ให้ความสำคัญน้อยและปลูกน้อยลง อันเนื่องจากความนิยม และการบริโภค ลดลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาเป็นยาสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหมากได้ หากมีการประสานการวิจัยค้นคว้าศึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แพร่หลาย มากขึ้น

ต้นเงิน



คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเงินไหลมาไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความร่ำรวย เพราะเงินไหลมาเป็นไม้มงคลนาม สามารถทำให้เงินทองไหลมาสู่บ้านและผู้อาศัย จึงทำให้เกิดความมั่งมี




ที่สำคัญยังมีความเชื่ออีกว่าต้นเงินไหลมายังช่วยสร้างความเป็นเสน่ห์แก่บ้านและผู้อาศัย เพราะลักษณะใบของต้นเงินไหลมามี สีสรร สวยงาม สีกลางใบคล้ายสีเงิน



เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเงินไหลมาไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

สุกี้แห้งหมู



ส่วนผสม







หมูสันใน แล่บางๆ เป็นชิ้นพอคำ


ผักกาดขาว หั่นชิ้นพอคำ 3 ถ้วย


ผักบุ้งเด็ดเป็นท่อนสั้นๆ 3 ถ้วย


วุ้นเส้น 2 กำเล็ก แช่น้ำให้นิ่ม


น้ำจิ้มสุกี้ แล้วแต่ชอบเข้มข้นแค่ไหน


คึ่นช่ายหั่นเป็นท่อนๆ 1 ต้น


ไข่ไก่ 2 ฟอง


น้ำปลา เล็กน้อย


น้ำมันงา 3-4 หยด


พริกไทย เล็กน้อย


น้ำมันพืช สำหรับผัด 2-3 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ






เริ่มจากการหมักหมูด้วยไข่ น้ำปลา น้ำมันงา พริกไทยป่น พักไว้ 1-2 ชม.


ตั้งกระทะใบใหญ่ๆ ใส่น้ำมัน ใส่หมูที่หมักไว้พร้อมไข่ลงผัดให้สุก จากนั้นตามด้วยผักกาดขาว ผัดให้สลดสักนิด แล้วใส่ผักบุ้ง คึ่นช่าย


ปรุงด้วยน้ำจิ้มสุกี้ วันนี้ใช้สูตรเต้าหู้ยี้ ยี่ห้อพันท้ายนรสิงห์ ติดใจอยู่ยี่ห้อเดียวนี่ละค่ะ รู้สึกว่าเผ็ดจัดจ้านได้ที่ และรสชาตินี่ไม่เคยต้องปรุงด้วยอย่างอื่นเลย แค่น้ำจิ้มอย่างเดียวก็อยู่ เคล้าๆ ให้ทั่ว พอผักสุกแล้ว ใส่วุ้นเส้น (ตัดเป็นท่อนสั้นๆ ก่อนนะคะ) ผัดให้วุ้นเส้นสุก ชิมและเติมน้ำจิ้มสุกี้อีกตามชอบ


พร้อมเสิร์ฟค่ะ จะเสิร์ฟกับน้ำจิ้มสุกี้ให้จัดจ้านขึ้นไปอีก